ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ตอนที่ ๒

นทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ตอนที่ ๒


 ต่อมาเกิด "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" ก่อตั้งโดยกลุ่มชาวอาหรับที่ต้องการทวงปาเลสไตน์คืนจากยิว ประธานขององค์การคือ ยัสเซอร์ อาราฟัต (หลายคนน่าจะคุ้นชื่อ) มีการรบและใช้ความรุนแรงกันทั้งสองฝ่าย จนในที่สุดทั้งยิวและอาหรับก็เริ่มคิดได้ว่า การใช้ความรุนแรงมันไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสองเชื้อชาติจึงได้เจรจากันผ่านสหประชาชาติและลงนามใน “ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1”ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1993 ใจความสำคัญคือให้มีดินแดนปกครองตนเองของปาเลสไตน์ ใน 2 พื้นที่คือ


 "ฉนวนกาซา" อยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีศูนย์กลางที่เมืองกาซา อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์(อาหรับ)มีอำนาจในการปกครองตัวเอง(อย่างจำกัด)ในเขตฉนวนกาซา ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลรวมถึงทหารต้องอพยพและถอนกำลังออกมา ปัจจุบันบริเวณนี้มีประชากรชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ในพื้นที่เกือบ 2 ล้านคน


- "เวสต์แบงก์" มีประชากรอาศัยในพื้นที่นี้ 2 ล้าน 5 แสนคน โดยประมาณ 2 ล้านเป็นชาวปาเลสไตน์(อาหรับ) ที่เหลือเป็นชาวยิว
แผนที่ข้างบนแสดงพื้นที่ของปาเลสไตน์ตั้งแต่อดีต สีเหลืองๆ คือพื้นที่ของปาเลสไตน์(อาหรับ)  ส่วนสีเขียวคือพื้นที่ของอิสราเอล(ยิว) จะเห็นได้ว่าสุดท้ายแล้วยิวยึดครองบริเวณนี้ได้จนกลายเป็นประเทศอิสราเอลแทน ส่วนปาเลสไตน์ก็เหลือพื้นที่สีเหลืองจำนวนไม่มาก จากแผนที่ขวาสุด สีเหลืองด้านซ้ายคือฉนวนกาซา ส่วนสีเหลืองด้านขวาคือเขตเวสต์แบงก์


  แน่นอนชาวปาเลสไตน์(อาหรับ)ดีใจเป็นอย่างมากที่ได้ดินแดนส่วนหนึ่งมาเป็นของตน มีการทำลายสัญลักษณ์ทุกอย่างที่เคยเป็นของยิว ชาวยิวก็ไม่น้อยหน้า เพราะอย่างในเขตเวสต์แบงก์ก็ยังมีชาวยิวอาศัยอยู่บ้าง ชาวยิวพวกนั้นก็ออกมาก่อความวุ่นวายเหมือนกัน เอาเข้าจริง ข้อตกลงสันติภาพออสโลก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมาก เพราะเมื่อ 2 ชาติกันเจอทีไร ก็มีปะทะกันทุกครั้ง มีผู้คนบาดเจ็บและล้มตายรวมแล้วเป็นจำนวนไม่น้อย ไม่มีใครยอมใคร


 มองมาที่ "ปาเลสไตน์" หลังจากได้ดินแดนฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์มาปกครองตนเองแล้ว ก็มีการจัดการเลือกตั้ง พรรคที่มีบทบาทมากที่สุดคือ "พรรคฮามาส"  แต่นานาชาติไม่ยอมรับ คนมักรู้จักในชื่อกลุ่มติดอาวุธฮามาส  โดยพรรคนี้มีอำนาจมากในเขตฉนวนกาซา ส่วนเขตเวสต์แบงก์นั้นผู้มีอำนาจเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง
พรรคฮามาสมักปะทะกับกองทหารอิสราเอลอยู่บ่อยครั้งที่บริเวณฉนวนกาซา รวมไปถึงครั้งล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ตอนนี้ เรื่องเริ่มจากเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีวัยรุ่นชายชาวอิสราเอล 3 คนถูกลักพาตัวและฆ่าตายอย่างเลือดเย็น โดยผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มฮามาส
และหลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็มีวัยรุ่นชาวปาเลสไตน์ถูกอุ้มฆ่าไปเผาทั้งเป็น สาเหตุคาดว่าเป็นการแก้แค้นที่มีวัยรุ่นชาวอิสราเอลตายก่อนหน้า ทำให้ชาวปาเลสไตน์ออกมาเดินประท้วงและปะทะกับตำรวจอิสราเอล งานนี้อิสราเอลก็โกรธปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ก็โกรธอิสราเอล เกิดเหตุปะทะกันรุนแรงในหลายพื้นที่


กลุ่มติดอาวุธฮามาสมีเหรอที่จะอยู่เฉย ได้ทำการยิงปืนและยิงจรวดโจมตีอิสราเอล (แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต) ฝ่ายอิสราเอลที่มีกองกำลังเหนือกว่าและมีอาวุธที่เหนือชั้นกว่าก็โจมตีกลับเข้าไปในฉนวนกาซาตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 ยิ่งมีเครื่องบินรบอีก ทำให้การโจมตีทางอากาศเป็นไปได้ไม่ยาก ดังนั้นฉนวนกาซาของปาเลสไตน์จึงลุกเป็นไฟ มีผู้เสียชีวิตและ บาดเจ็บหลายพันคน ส่วนอิสราเอลถึงจะโดนโจมตีกลับบ้าง แต่ก็มีอาวุธคอยป้องกันสกัดเอาไว้


 ผู้นำหลายชาติรวมถึงสหประชาชาติพยายามเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหยุดโจมตีกัน รัฐบาลอิสราเอลกล่าวว่า ไม่ต้องการทำร้ายพลเมืองในฉนวนกาซา คนที่ต้องการต่อสู้ด้วยคือกลุ่มฮามาสเท่านั้น แต่ผู้ที่เสียชีวิต 80% คือเป็นพลเมืองธรรมดา ทำให้คนทั่วโลกรุมประนามการกระทำของอิสราเอลว่ารุนแรงเกินกว่าเหตุ

สรุปสุดท้ายคือ ยิวได้ยึดพื้นที่ของชาวปาเลสไตน์ โดยไร้ความชอบธรรม กดขี่ ข่มเหง และเอาเปรียบชาวปาเลสไตน์ทุกวิถีทาง

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment