ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

ผลกระทบของอาหารฮะรอม (ต้องห้าม)ในทัศนะของอิสลาม

ผลกระทบของอาหารฮะรอม (ต้องห้าม)ในทัศนะของอิสลาม

ผลกระทบของอาหารฮะรอม (ต้องห้าม)ในทัศนะของอิสลาม

 

 ในทัศนะของอิสลามการไม่ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงจากสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิและมีโทษ อีกทั้งยังมีผลกระทบที่เลวร้ายต่อหัวใจและจิตวิญญาณของมนุษย์และครอบครัวของเขา ความชั่วและการละเมิดฝ่าฝืนต่อพระผู้เป็นเจ้าโดยส่วนใหญ่แล้วมีรากฐานมาจากความแปดเปื้อนที่เกิดขึ้นกับจิตวิญญาณของมนุษย์ และอาหารที่ต้องห้าม (ฮะรอม) นั้นเหมือนกับน้ำที่สกปรกที่จะทำให้ร่างกายของมนุษย์ป่วยไข้และจะทำให้จิตวิญญาณของเขาแปดเปื้อน ด้วยเหตุนี้ศาสนาอิสลามจึงเน้นย้ำให้ระมัดระวังในเรื่องนี้ไว้อย่างมากมาย

คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า :

فَلْيَنظُرِ الْإِنسَانُ إِلَىٰ طَعَامِهِ

“มนุษย์จงพิจารณาดูอาหารของเขา” (1)

 

ในอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า :

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا رَزَقْنَاكُمْ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลายที่เราได้มอบให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า" (2)

 

ตัวอย่างส่วนหนึ่งจากผลกระทบของอาหารและทรัพย์สินต้องห้าม (ฮะรอม) ที่มีต่อชีวิตและจิตวิญญาณของมนุษย์

: ศาสดามูฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

مَنْ أَكَلَ لُقْمَةَ حَرَامٍ لَمْ تُقْبَلْ لَهُ صَلَاةٌ أَرْبَعِينَ لَيْلَة

"ใครก็ตามที่บริโภคอาหารต้องห้าม (ฮะรอม) การนมาซของเขาจะไม่ถูกยอมรับถึงสี่สิบวัน" (3)

 

 ยิ่งไปกว่านั้นท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยังกล่าวอีกว่า :

الْعِبَادَةُ مَعَ أَكْلِ الْحَرَامِ كَالْبِنَاءِ عَلَى الرَّمْل

"การอิบาดะฮ์ที่ควบคู่ไปกับอาหารต้องห้ามนั้น ประหนึ่งดั่งการสร้างอาคารก่อสร้างบนทราย"(4)

 

คำรายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (อ.) ซึ่งท่านกล่าวว่า :

إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا أَصَابَ مَالًا مِنْ حَرَامٍ لَمْ يُقْبَلْ مِنْهُ حَجٌّ وَ لَا عُمْرَةٌ وَ لَا صِلَةُ رَحِمٍ حَتَّى أَنَّهُ يَفْسُدُ فِيهِ الْفَرْجُ

"บุคคลที่รับเอาทรัพย์สินต้องห้าม (มาใช้ในการดำเนินชีวิตของตน) ฮัจญ์ อุมเราะฮ์และการเชื่อมสัมพันธ์ทางเครือญาติของเขาจะไม่ถูกตอบรับ กระทั่งว่าจะส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสเปิร์มของเขา (หมายถึง ทารกที่จะถือกำเนิดขึ้นมาบนอาหารที่ฮะรอมนั้น)” (5)

               

 

ศัตรูของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ก็ทำนมาซ ถือศีลอดและทำอิบาดะฮ์อื่นๆ แต่อิบาดะฮ์เหล่านั้นไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆ ต่อพวกเขาเลย! ในวันอาชูรอ ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้ทำการปราศรัยเพื่อตักเตือนถึงสองครั้ง คอวารัซมีย์ ได้เขียนว่า ในคำปราศรัยครั้งที่สอง เมื่อท่านอิมาม (อ.) ต้องการที่จะเริ่มต้นคำพูดของท่าน บรรดาทหารในกองทัพของอุมัร บินซะอัด ก็เริ่มส่งเสียงเอะอะโวยวาย โดยไม่ยอมฟังคำพูดของท่าน

ท่านอิมาม (อ.) กล่าต่อพวกเขาว่า :

وَیلَکُم مَا عَلَیکُم أن تَنصِتُوا إلَیَّ فَتَسمَعُوا قَولِی

"ความวิบัติจงประสบกับพวกท่าน! ทำไมพวกเจ้าจึงไม่นิ่งเงียบเพื่อรับฟังคำพูดของฉัน?"

              

ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวต่ออีกว่า :

وَ إِنَّمَا أَدْعُوكُمْ إِلَى سَبِيلِ الرَّشَادِ فَمَنْ أَطَاعَنِي كَانَ مِنَ الْمُرْشَدِينَ وَ مَنْ عَصَانِي كَانَ مِنَ الْمُهْلَكِينَ وَ كُلُّكُمْ عَاصٍ لِأَمْرِي غَيْرُ مُسْتَمِعٍ قَوْلِي

"แท้จริงฉันจะเรียกร้องเชิญชวนพวกท่านไปสู่ทางอันเที่ยงธรรม ดังนั้นใครก็ตามที่เชื่อฟังฉัน เขาจะเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้รับการชี้นำ และผู้ใดที่ฝ่าฝืนฉัน เขาจะเป็นสวนหนึ่งจากบรรดาผู้ประสบความหายนะ และพวกท่านทั้งหมดฝ่าฝืนคำสั่งของฉัน โดยไม่รับฟังคำพูดของฉัน"

              

จากนั้นท่านกล่าวว่า :

فَقَدْ مُلِئَتْ بُطُونُكُمْ مِنَ الْحَرَامِ وَ طُبِعَ عَلَى قُلُوبِكُمْ

"แน่นอนยิ่งท้องของพวกท่านได้ถูกบรรจุไปด้วยสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และหัวใจของพวกท่านถูกปิดผนึก (ไม่เข้าใจสัจธรรม)" (6)

 

              

ดังนั้นมุสลิมทุกคนจำเป็นต้องระมัดระวังและใคร่ครวญในสิ่งที่ตนเองได้รับมา ไม่ว่าจะโดยการประกอบอาชีพหรือโดยวิธีการใดก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากว่าทุกสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาและเข้ามาสู่วงจรชีวิตของตนนั้น ก็จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและอาหารของเขา ไม่โดยทางตรงก็โดยทางอ้อม

 

เชิงอรรถ :
(1) ซูเราะฮ์อะบะซะ/อายะฮ์ที่ 24
(2) ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์/อายะฮ์ที่ 172
(3) อุดดะตุดดาอีย์, หน้าที่ 33
(4) อุดดะตุดดาอีย์, หน้าที่ 141
(5) อัลอะมาลี, เชคซอดูก, หน้าที่ 680, ฮะดีษที่ 1447
(6) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 7, หน้าที่ 45

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาอิสลามและการพัฒนา

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สนทนากับอิมามอะลี (อ) หัวข้อ ...
ดุอาเดือนรอญับ
...
คำว่า ฟิตนะฮ์ ในอัลกุรอาน
...
ผลกระทบของอาหารฮะรอม ...
...
อะมั้ล (การกระทำ) ...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ...
...

 
user comment