ไทยแลนด์
Thursday 18th of April 2024
0
نفر 0

อิมามอัซซัจญาด ผู้ถือสาสน์แห่งกัรบะลาอ์

อิมามอัซซัจญาด ผู้ถือสาสน์แห่งกัรบะลาอ์

อิมามอัซซัจญาด ผู้ถือสาสน์แห่งกัรบะลาอ์

 

อิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน  (อ) เป็นอิมามท่านที่สี่แห่งอะฮ์ลุลบัยต์ เป็นบุตรชายของท่านอิมามฮูเซน (อ) หลานของท่านอิมามอะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ (อ) มารดาของท่านมีนามว่า "ท่านหญิงชะฮ์ริบานู" ฉายานามที่โด่งดังของท่านคือ "ซัยนุลอาบิดีน" หมายถึง เครื่องประดับแห่งบรรดาผู้ภักดี และ "อัซซัจญาด" หมายถึง ผู้ที่ทำการซัจญะดะฮ์(กราบ)ต่อพระผู้เป็นเจ้า อย่างมากมาย

อิมามซัยนุลอาบิดีน (อ) ประสูติในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 38 ท่านใช้ชีวิตในช่วงวัยเด็กของท่านที่ นครมะดีนะฮ์ มุเนาวะเราะฮ์ และท่านอิมาม (อ) ได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของท่านอยู่ในช่วงการปกครองของอิมามอะลี (อ)ประมาณ สองปี

นับเป็นเวลาสิบปีที่ท่านได้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคการเป็นอิมามของลุงของท่าน คือท่านอิมามฮะซัน อัลมุจญตะบา (อ) และท่านอิมามอัซซัจญาด (อ) ได้ใช้ชีวิตในยุคการเป็นอิมามของท่านอิมามฮูเซน (อ) ผู้เป็นบิดาของท่านเองอีกสิบปี ซึ่งเป็นช่วงเรืองอำนาจของมุอาวิยะฮ์ อิบนิ อะบีซุฟยาน

ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 61 ณ. ผืนแผ่นดินกัรบะลาอ์ ท่านอิมามอัซซัจญาด (อ) ก็เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์วันนั้น (เหตุการณ์วันอาชูรอ เดือนมุฮัรรอม) และภายหลังจากการเป็นชะฮีด (เสียชีวิตในหนทางของพระองค์) ของบิดาของท่าน คือ อิมามฮูเซน (อ) ท่านได้ร่วมเดินทางไปกับบรรดาเชลยศึก จากท้องทุ่งกัรบะลาอ์ ยังเมืองกูฟะฮ์ และเมืองชาม หรือซีเรียในปัจจุบัน

การเดินทางในครั้งนั้นท่านได้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และเป็นที่พึ่งพิงของบรรดาเชลย ที่ตกอยู่ในความโศรกเศร้า และความทุกข์ระทม ในการเดินทางครั้งนั้นท่านได้กล่าวคำปราศรัยอย่างดุเดือด เปิดโปงความชั่วร้ายของยะซีด และการปกครองของยะซีดอย่างมากมาย

และหลังจากที่ท่านอิมาม (อ) เดินทางกลับสู่นครมะดีนะฮ์ ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในนครมะดีนะฮ์ จนกระทั่งท่านเป็นชะฮีด (เสียชีวิตในหนทางของพระองค์) ใน วันที่ 12 มุฮัรรอม ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 94

บางรายงานบันทึกว่า ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 95 และศพของท่านถูกฝังอยู่ ณ สุสานบะเกียะอ์ ใกล้ๆ กับหลุมฝังศพของท่านอิมามฮะซัน (อ) ผู้เป็นลุงของท่าน

ตามรายงานกล่าวไว้ว่า ในกัรบะลาอ์นั้น ท่านอิมามอัซซัจญาด (อ) ป่วยหนัก และไม่ได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้จับดาบเพื่อสู้รบกับศัตรูของพระเจ้าในวันนั้น เพราะนั่นคือ เจตนารมณ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า อาการป่วยในระยะสั้นๆ ของอิมาม (อ) ณ วันนั้นในเหตุการณ์วันอาชูรอ เป็นความกรุณาของพระองค์อย่างแท้จริง

เพราะเหตุผลของอาการป่วยในวันนั้น ภาระหน้าที่การต่อสู้ของท่านอิมาม (อ) ได้ถูกยกเว้น และชีวิตอันจำเริญของท่านได้ถูกปกป้องจากภัยอันตราย และทำให้สายธารแห่งอิมามของมนุษยชาติได้คงดำรงอยู่ต่อไป

อิมามอัซซัจญาด (อ) คือผู้ประกาศสาส์นแห่งการต่อสู้ของท่านอิมามฮูเซน (อ) และบรรดาสหายผู้กล้าของอิมามฮูเซน (อ) ซึ่งเป็นภาระกิจที่สำคัญยิ่ง มาตแม้นว่าไร้ซึ่งผู้เผยแพร่สาส์นแห่งการต่อสู้ และการเป็นชะฮีดของวีรชนในกัรบะลาอ์ ปัจจุบันนี้ เราคงกลายเป็นมุสลิมอีกหลายๆ คนที่ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในกัรบะลาอ์เลย

ดังนั้นภาระกิจของท่านอิมามอัซซัจญาด (อ) จึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าภาระกิจของอิมามฮูเซน (อ) และบรรดาสหายผู้กล้าของอิมามฮูเซน (อ) ในวันอาชูรอเลยแม้แต่นิดเดียว

 

ภาระกิจอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามอัซซัจญาด (อ) คือภาระกิจการต่อสู้และการรับใช้ด้านสังคม และการทำงานด้านวัฒนธรรม ซึ่งมีแบบแผนการทำงานที่สำคัญที่สุดสามารถสรุปได้ดังนี้

 

1-การดำรงไว้ซึ่งการรำลึกถึงวีรกรรมของวันอาชูรอ

การรำลึกถึงวีรกรรมวันอาชูรอ ได้สร้างปมคำถามเกิดขึ้นในความคิดของประชาชนส่วนใหญ่เกี่ยวกับความชอบธรรมในการปกครองของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ในช่วงเวลานั้น ท่านอิมามได้ใช้รูปแบบการเผยแพร่ การต่อสู้โดยการใช้การปลุกระดมประชาชนด้วยการรำลึกวีรกรรมวันอาชูรอ ด้วยสื่อแห่งน้ำตา และความเจ็บปวด

ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า วิธีการต่อสู้นี้ของท่านอิมาม (อ) ได้ก่อให้เกิดผลทางด้านการเมืองอย่างสูง การกล่าวรำลึกอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมกัรบะลาอ์ ทำให้การกดขี่ การก่ออาชญากรรมของระบอบการปกครองของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ไม่อาจถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์อิสลามได้

ทุกครั้งเมื่อท่านอิมาม (อ) จะดื่มน้ำ เมื่อสายตาของท่านมองไปที่น้ำ ท่านจะหลั่งน้ำตาออกมา เมื่อมีผู้อื่นเห็นและได้ถามท่านถึงสาเหตุการร้องไห้ ท่านก็จะตอบว่า "จะไม่ให้ฉันร้องไห้ได้อย่างไรกัน ในขณะที่พวกยะซีด ได้ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตตามท้องทะเลทราย และสัตว์ได้ดื่มกินน้ำ แต่ทว่ายะซีดได้ปิดกั้นน้ำต่อบิดาของฉัน และสังหารบิดาของฉันในสภาพของผู้ที่หิวกระหายอย่างรุนแรง"

 

ท่านอิมามซัจญาด (อ) กล่าวอีกว่า "เมื่อใดก็ตามที่ฉันนึกถึงการถูกสังหารของบุตรแห่งฟาติมะฮ์ (อ) ฉันก็จะร้องไห้" ท่านอิมามจะกล่าวรำลึกเรื่องราวเหล่านี้ตามสถานที่ต่างๆ ในต่างวาระต่างโอกาสทันที เมื่อท่านมีโอกาส

 

2-การตักเตือนและการชี้นำแนวทางแก่ประชาชาติ

ในหลายโอกาสที่ท่านได้มีโอกาสในการพูดตักเตือน ท่านก็จะพยายามพูดคุยถึงเรื่องราวแห่งอิสลามที่แท้จริง ตามแบบอย่างของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ท่านมักจะสอดแทรกคำสอนต่างๆ ที่เป็นวิชาการของอิสลามที่แท้จริง

 

3-การสั่งสอนอิสลามในรูปแบบของการดุอาอ์ และคำวิงวอน

หนึ่งในรูปแบบของการต่อสู้ การเผยแพร่ของท่านอิมาม (อ) คือ การอรรถาธิบายวิชาการด้านอิสลามในรูปแบบของดุอาอ์ และคำวิงวอน ซึ่บทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสร้างและพัฒนาจิตวิญญาณของมนุษยชาติ "อัศศอฮีฟะตุซ ซัจญาดียะฮ์" จึงถูกนำเสนอโดยท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ)

 

อัศศอฮีฟะตุซ ซัจญาดียะฮ์ ไม่ได้เป็นเพียงเนื้อหาที่รวบรวมคำวิงวอน ภาวนาและการขอพร ต่อพระเจ้า หรือการวิงวอนของสิ่งพึงประสงค์จากพระองค์เพียงเท่านั้น แต่ทว่ามันคือ มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งวิชาการ และหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ยังมีเรื่องราวแห่งความศรัทธา วัฒนธรรม การเมือง สังคม กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ และบทบัญญัติอันพึงปฏิบัติ ซึ่งล้วนถูกซ่อนอยู่ในกรอบของดุอาอ์ คำวิงวอน

 

ขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี

เรียบเรียงและแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนโดยเว็บมาสเตอร์เว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
อิมามมะฮ์ดี (อ.) ...
ไชฏอนศึกษา บทเรียนครั้งที่ 4/3 ...
ฮิญาบในอิสลาม
ท่านหญิงซัยนับ บินอะลี ...
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
ชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัล ...
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
อิสลามในโลกยุคใหม่

 
user comment