ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

ความเชื่อเรื่องมะอาด(การกลับคืนสู่ปรโลก)ในอิสลาม ตอนที่ 3

ความเชื่อเรื่องมะอาด(การกลับคืนสู่ปรโลก)ในอิสลาม ตอนที่ 3

ความเชื่อเรื่องมะอาด(การกลับคืนสู่ปรโลก)ในอิสลาม ตอนที่ 3

 

 

หลักฐานบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการมีอยู่ของ “มะอาด” ในคัมภีร์อัลกุรอาน

 

      โองการอัลกุรอานจำนวนมากได้จุดประกายในการพิสูจน์หาเหตุผลทางสติปัญญา ถึงความจำเป็นในการมีอยู่ของ “มะอาด” และสามารถที่จะกล่าวได้ว่าโองการเหล่านั้นให้ความสำคัญต่อข้อพิสูจน์สองประการข้างต้น (คือข้อพิสูจน์ว่าด้วย “ฮิกมะฮ์” ของพระผู้เป็นเจ้า และข้อพิสูจน์ว่าด้วย “อะดาละฮ์” ของพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งจะขอยกตัวอย่างโองการต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

อัลกุรอานโองการที่ 115 ของบทอัลมุอ์มินูน ได้นำเสนอในรูปแบบของการตั้งคำถามในเชิงปฏิเสธ (อิสติฟฮาม อัลอิสตินการี) โดยกล่าวว่า

 

أَفَحَسِبْتُمْ أَنَّمَا خَلَقْنَاكُمْ عَبَثًا وَأَنَّكُمْ إِلَيْنَا لَا تُرْجَعُونَ

 

 “พวกเจ้าคิดกระนั้นหรือ ว่าเราได้สร้างพวกเจ้าขึ้นมาอย่างไร้สาระ และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับคืนไปสู่เรา”

 

      โองการอันจำเริญนี้ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า หากไม่มี “มะอาด” การกลับคืนไปสู่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งแล้ว การสร้างมนุษย์ขึ้นมาในโลกนี้จะกลายเป็นสิ่งไร้สาระทันที แต่ทว่าพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีวิทยปัญญา (อัล ฮะกีม) ย่อมจะไม่กระทำสิ่งที่ไร้สาระและปราศจากเป้าหมาย ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีอีกโลกหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อมนุษย์ทั้งมวลจะได้กลับคืนไปสู่พระองค์

 

      สิ่งที่ควรกล่าวเสริมในที่นี้ก็คือ การสร้างมนุษย์ขึ้นมาคือเป้าหมายสูงสุดสำหรับการสร้างโลกนี้ (ดุนยา) ดังนั้นหากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้เป็นสิ่งไร้สาระและปราศจากเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิทยปัญญาแล้ว แน่นอนยิ่งการสร้างโลกนี้ก็ย่อมเป็นสิ่งไร้สาระและไร้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน และอีกประการหนึ่งที่สามารถรับรู้ได้จากโองการต่างๆ ก็คือ การมีอยู่ของโลกหน้า (อาคิเราะฮ์) นับได้ว่าเป็นตัวกำหนดถึงความมีวิทยปัญญาของการสร้างโลกนี้ และจากตัวอย่างในการพรรณนาถึงคุณลักษณะของปวงผู้มีปัญญา

 

       อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า

 

الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللَّـهَ قِيَامًا وَقُعُودًا وَعَلَىٰ جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَـٰذَا بَاطِلًا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

 

“และ (ปวงผู้มีปัญญานั้น) พวกเขาจะพินิจพิจารณาการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน (และเมื่อนั้นพวกเขาจะกล่าวว่า) โอ้พระผู้อภิบาลของเหล่าข้าฯ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้ (จักรวาล) มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ โปรดทรงคุ้มครองเหล่าข้าฯ ให้พ้นจากการลงโทษของไฟนรกด้วยเถิด”

 

(อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 191)

 

       จากโองการนี้สามารถสรุปได้ว่า การคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับลักษณะและวิธีการสร้างจักรวาลนั้นจะทำให้มนุษย์ตระหนักถึงวิทยปัญญา (ฮิกมะฮ์) แห่งพระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ (อัลฮะกีม) ได้ทรงมองเห็นเป้าหมายอันเปี่ยมไปด้วยวิทยปัญญาจากการสร้างอันยิ่งใหญ่นี้ และพระองค์มิได้ทรงสร้างมันอย่างไร้สาระและปราศจากเหตุผล และหากไม่มีอีกโลกหนึ่งที่ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการสร้างจักรวาลนี้แล้ว การสร้างของพระผู้เป็นเจ้าย่อมกลับกลายเป็นสิ่งไร้สาระและไร้เป้าหมาย

 

      โองการจากคัมภีร์อัลกุรอานอีกส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ถึงข้อพิสูจน์ทางสติปัญญา เกี่ยวกับความจำเป็นของการมี “มะอาด” ที่สอดคล้องกับข้อพิสูจน์ว่าด้วยเรื่อง “อะดาละฮ์” (ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า) กล่าวคือ เป็นไปตามหลักความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือ พระผู้เป็นเจ้าจะทรงทำให้บรรดาผู้ประพฤติดีและบรรดาผู้ประพฤติชั่ว ได้รับผลรางวัลและโทษทัณฑ์จากการกระทำต่างๆ ของตนเอง และท้ายที่สุดพระองค์จะทรงจำแนกพวกเขาเหล่านั้นออกจากกัน และเนื่องจากโลกนี้การจำแนกดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีอีกโลกหนึ่งบังเกิดขึ้น เพื่อที่พระองค์จะได้ทรงสำแดงความยุติธรรม (อะดาละฮ์) ของพระองค์ออกมาให้เป็นรูปธรรม

 

       ตัวอย่างจากโองการเหล่านั้นคือ ในอัลกุรอานบทอัลญาซิยะฮ์ โองการที่ 21 และ 22 พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

 

أَمْ حَسِبَ الَّذِينَ اجْتَرَحُوا السَّيِّئَاتِ أَن نَّجْعَلَهُمْ كَالَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ سَوَاءً مَّحْيَاهُمْ وَمَمَاتُهُمْ ۚ سَاءَ مَا يَحْكُمُونَ

 

 “บรรดาผู้ประพฤติชั่วทั้งหลายคาดคิดหรือว่า เราจะปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนดังบรรดาผู้ศรัทธาและประพฤติแต่ความดีงาม ไม่ว่าจะในช่วงการมีชีวิตอยู่ของพวกเขาและในการตายของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาตัดสินนั้นช่างเลวร้ายยิ่งนัก

 

وَخَلَقَ اللَّـهُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ بِالْحَقِّ وَلِتُجْزَىٰ كُلُّ نَفْسٍ بِمَا كَسَبَتْ وَهُمْ لَا يُظْلَمُونَ

 

และอัลลอฮ์ได้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินขึ้นมาด้วยสัจธรรม และเพื่อทุกๆ ชีวิตจะได้รับการตอบแทนตามสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้ และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแต่อย่างใด”

 

       ในอัลกุรอานบทอัลกอลัม โองการที่ 35 และ 36 อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า

 

 أَفَنَجْعَلُ الْمُسْلِمِينَ كَالْمُجْرِمِينَ

 

 “ดังนั้นจะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ยอมสวามิภักดิ์ (มุสลิมีน) เช่นเดียวกับบรรดาผู้กระทำชั่วกระนั้นหรือ

 

مَا لَكُمْ كَيْفَ تَحْكُمُونَ

 

เกิดอะไรขึ้นกับพวกเจ้า พวกเจ้าตัดสินเช่นนั้นได้อย่างไร”

 

       บนพื้นฐานของโองการต่างๆ ข้างต้น ในทัศนะของคัมภีร์อัลกุรอาน ปวงบ่าวผู้มีศรัทธามั่นต่ออัลลอฮ์และผู้ประพฤติดีทั้งหลายย่อมไม่เท่าเทียมกัน หรือมีสถานะเสมอเหมือนกันกับบรรดาคนบาปและผู้ประพฤติชั่ว ทว่าเป็นสิ่งที่มั่นใจได้ว่า คนกลุ่มแรกนั้นย่อมดีกว่าคนกลุ่มที่สอง และพวกเขาจะต้องได้รับตำแหน่งและความโปรดปราน (เนี๊ยะอ์มัต) ต่างๆ ที่สูงส่งกว่าและดีเลิศกว่าจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน แต่ดั่งที่เราทุกคนได้ประจักษ์ดีแล้วว่า สัญญาต่างๆ แห่งคัมภีร์อั กุรอานไม่อาจเป็นจริงได้ในโลกนี้ ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีอีกโลกหนึ่งหลังจากโลกนี้ และในโลกใหม่นั้นคำมั่นสัญญาต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าจะถูกทำให้บรรลุผลขึ้นจริง และผลรางวัลอันแท้จริงของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายจะถูกมอบให้ และโทษทัณฑ์อันเที่ยงแท้แน่นอนจะถูกตอบสนองแก่บรรดาคนชั่วและผู้ปฏิเสธทั้งมวล

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...

 
user comment