ไทยแลนด์
Wednesday 24th of April 2024
0
نفر 0

ปรัชญาการถือศีลอด เป็นอะไรที่มากไปกว่าการเข้าใจถึงคนยากจน

ปรัชญาการถือศีลอด เป็นอะไรที่มากไปกว่าการเข้าใจถึงคนยากจน

ปรัชญาการถือศีลอด เป็นอะไรที่มากไปกว่าการเข้าใจถึงคนยากจน

 

การถือศีลอดนั้นมีมิติต่างๆ และจะส่งผลมากมายในการดำรงอยู่ของมนุษย์ ทั้งในด้านวัตถุ (กายภาพ) และจิตวิญญาณ ในความเป็นจริงแล้ว การถือศีลอดคือการฝึกฝน "ตักวา" (ความยำเกรง, ความสำรวมตน, การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามต่างๆ ของพระเจ้า) ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็มที่มนุษย์จะทำการงดเว้นแม้แต่สิ่งที่เป็นอนุมัติตามศาสนบัญญัติ (ฮะล้าล) ของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อที่ว่าในช่วงวันปกติ (ที่ไม่ใช่เดือนรอมฎอน) เขาจะสามารถยับยั้งตนจากข้อห้าม (มุฮัรร่อมาต) ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้เองคุณประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการถือศีลอด คือการฝึกฝนตักวา (ความยำเกรง) คุณธรรม และความแข็งแรงของจิตวิญญาณ

 

       แต่อีกมิติหนึ่งของการถือศีลอดนั้น เกี่ยวข้องกับด้านทางสังคม โดยที่ผู้ถือศีลอดจะรับรู้และเข้าใจถึงสภาพของบรรดาผู้ยากจนและคนขัดสนของสังคม ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีใครสามารถที่จะอ้างได้ว่า ผมจะทำการช่วยเหลือคนยากจนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มแทนการถือศีลอดหนึ่งเดือนในเดือนรอมฎอน ทั้งนี้เนื่องจากว่า แม้การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีงามและน่ายกย่องสรรเสริญ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทดแทนการถือศีลอดได้ เพราะว่า :

 

       ประการแรก : การถือศีลอดในหลายๆ ด้านนั้น คือการฝึกฝนการควบคุมจิตใจของตนเอง ดังเช่นที่ในช่วงเริ่มต้นของโองการที่เกี่ยวกับบทบัญญัติของการถือศีลอด พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสว่า :

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمْ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่บังคับเหนือพวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่บังคับเหนือบรรดาบุคคลก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้มีความยำเกรง” (1)

 

      ประการที่สอง : การถือศีลอดเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

 

صُومُوا تَصِحُّوا   

  "ท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเถิด แล้วพวกท่านจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์"  (2)

   

  ประการที่สาม : ผลที่มีอยู่ในการถือศีลอดและความเข้าใจถึงสภาพของคนยากจนที่ได้รับจากการถือศีลอดนั้น จะไม่สามารถได้รับจากการกระทำอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ตัวมนุษย์เองเป็นผู้หิวโหยและสัมผัสกับความหิวโหยอย่างแท้จริงนั้น เขาจะสามารถรับรู้และเข้าใจถึงสภาพของคนยากจนและบรรดาผู้หิวโหยของสังคมได้ดีกว่า และพวกเขาจะกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

 

      มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับเหตุผลของการบัญญัติการถือศีลอด ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า :

 

انما فرض الله الصيام ليستوي به الغني والفقير و ذلك انّ الغني لم يكن ليجد مسّ الجوع فيرحم الفقير، و انّ الغني كلما اراد شيئا قدر عليه، فاراد الله

تعالي ان يستوي بين خلقه، و ان يذيق الغني مسّ الجوع والالم، ليرق علي الضعيف و يرحم الجائع

 

“แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดการถือศีลอด ก็เพื่อที่จะให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างคนรวยและคนจน นั้นเป็นเพราะว่าคนรวยไม่เคยสัมผัสกับความหิวโหย ดังนั้นเขาจะรู้สึกเมตตาสงสารคนจน คนรวยเมื่อเขาต้องการสิ่งใดเขาก็จะได้รับในสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ที่จะให้เกิดความเท่าเทียมกันในระหว่างสิ่งถูกสร้างของพระองค์ (มนุษย์) และเพื่อให้คนรวยได้ลิ้มรสความหิวโหยและความเจ็บปวด เพื่อเขาจะได้สงสารคนที่อ่อนแอ และเมตตาต่อคนที่หิวโหย” (3)

 

 

แหล่งอ้างอิง :

 

(1) บทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 183 ; ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ ในบทความเรื่อง "ศีลอดกับพัฒนาการทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์" จากลิงค์ :http://islamicstudiesth.com/index.php/19-islamic-teachings/382-development-of-human-spirit

 

(2) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 59, หน้าที่ 267

 

(3) อิละลุชชะรอเยี๊ยะอ์, เล่มที่ 2, หน้าที่ 378

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...
มองเรื่อง “ข่าวลือ” ...
เคล็ดลับอายุยืน(1)
ชัยฏอน คือ ...
มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) ...

 
user comment