ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ตอนที่ 27

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ตอนที่ 27

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)
เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ตอนที่ 27

 

คอลิกียะฮ์ “خالقية” (ความเป็นพระผู้สร้าง)

 

ศีฟัตหลักที่สำคัญอีกศีฟัตหนึ่งของพระองค์คือ คอลิกียะฮ์ “خالقية” (ความเป็นพระผู้สร้าง) ซึ่งเป็นศีฟัตฟิอ์ลียะห์ ศีฟัตที่ปรากฏหลังจากที่พระองค์ได้มีกริยาหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และ"คอลีกียะห์"เป็นศีฟัตแรกที่จะต้องมาทำความรู้จักกัน

 

“คอลีกียะห์" คือ การสร้าง การทำให้เกิด การทำให้มี บางครั้งใช้ในความหมายที่กว้างหมายถึงการทำให้มี การทำให้เกิดขึ้น และสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า “มัคลูก” “مخلوق” นี่คือความหมายที่ครอบคลุมของ “คอลีกียะฮ์” และบางครั้งใช้ในความหมายที่เฉพาะความหมายที่แคบลงมาอีก ซึ่งความหมายที่เฉพาะของ”คอลิกียะฮ์”นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ “คัลกฺ” และ อิบดาอฺ”


“คัลกฺ” “خلق” คือการทำให้วัตถุหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกวัตถุหนึ่ง เปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง เจาะจงไปที่เนื้อหาลักษณะของการมีอยู่ ตัวอย่างเช่น การสร้างรถ สร้างมาจาก เหล็ก, ยางพาราหรืออะไหล่อื่นๆนำมาประกอบกันเพื่อให้เป็นรถขึ้นมา เปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่แล้วประกอบขึ้นเป็นรถ ถามว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเช่นนี้ใช่หรือไม่? หมายถึง การสร้างจากสิ่งหนึ่งให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง มนุษย์ถูกสร้างมาในลักษณะนี้เช่นกัน จากสิ่งหนึ่งให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเริ่มอย่างเป็นทางการมาจากเชื้ออสุจิ ในอสุจิมีตัวสเปิร์ม จากตัวสเปิร์มได้พัฒนามาเป็นมนุษย์ หรือจะเริ่มจากการสร้างมนุษย์คนแรก คือ ท่านศาสดาอาดัม(อ) ก็เป็นในลักษณะเช่นนี้ คือเริ่มต้นจากดินจนกลายมาเป็นรูปร่างที่สมบรูณ์ แล้วพระองค์จึงเป่าจิตวิญญาณ(รูฮ์)ลงไปจนกระทั่งเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์


อิบดาอฺ” “ابداع” คือให้ความหมายที่ตรงข้ามกับความหมายของ “คัลกฺ” เมื่อใช้ในความหมายการสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุ หมายถึง การสร้างสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้มาจากวัตถุใดๆ การสร้างวัตถุให้เกิดขึ้นโดยไม่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามัน จึงทำให้เกิดปฐมบทแรกของวัตถุ เช่นสร้างดินที่ใช้สร้างศาสดาอาดัม(อ)  พระองค์ทรงบังเกิดให้ดินนั้นเกิดขึ้นมาโดยตรงเลย คือ การเนรมิตบันดาลให้เกิดขึ้น สร้างมาจากความไม่มีวัตถุใดๆ มาเป็นปฐมวัตถุ เป็นวัตถุแรก หรือเช่นชั้นฟ้าที่หมายถึง ดวงดาว ,ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ ,โลก ไม่ได้สร้างมาจากวัตถุใดๆ ถ้าเกิดมีใครค้านว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างมาจากดาวดวงใหญ่อื่นๆจนกลายมาเป็นดวงดาวต่างๆ เช่น ดวงอาทิตย์ ,ดวงจันทร์ ดังนั้นถามว่า ดาวดวงใหญ่ที่ว่านั้นมาจากวัตถุใดอีก แน่นอนสุดท้ายสรุปได้ว่ามันต้องมีปฐมวัตถุที่ไม่ได้ถูกสร้างมาจากวัตถุอื่นๆ การสร้างนี้เรียกว่า “อิบดาอฺ”การบันดาลให้เกิดขึ้น หลังจากนั้นวัตถุอื่นๆก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาจากปฐมบทวัตถุนั้นๆ การสร้างแบบนี้จะอยู่ในรูปแบบ “كُن فَيَكُون” (เมื่อพระองค์ประกาศิตว่าจงเป็น มันก็เกิดขึ้นในทันที)


และอีกรูปแบบลักษณะหนึ่งที่เป็นการสร้างแบบ “อิบดาอฺ”เช่นกัน แต่เป็นการสร้างสิ่งที่เป็นมุญัรร็อด หมายถึงสร้างสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ สิ่งมีอยู่ที่ไม่มีวัตถุ ตัวอย่างเช่น “รูฮฺ” (จิตวิญญาณ) หรือ “มะลาอิกะฮฺ” (เทวทูต) และสิ่งอื่นๆอีกมากมายที่มนุษย์ยังไม่รู้จัก และการสร้างของอัลลอฮ์ (ซ.บ) นั้นไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ใดๆ ไม่มีวัตถุใดๆในการสร้าง
ซึ่งทั้งการสร้างแบบ”คัลกฺ” ในความหมายอันเฉพาะและการสร้างแบบ “อิบดาอฺ” แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนั้นขึ้นก็อยู่ภายใต้ความหมายโดยรวมความหมายที่ครอบคลุมของ”คอลิกียะฮ์” ที่หมายถึงการสร้าง การทำให้เกิดขึ้น การทำให้มี


ตัวอย่างจากอัลกุรอาน ในซูเราะฮ์ อัลอะลัก โองการที่ 2


خَلَقَ الْانسَانَ مِنْ عَلَق‌
 

“พระองค์คือผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากก้อนเลือด”


โองการดังกล่าวคำว่า “คอละกอ มาจากรากศัพท์ของ คัลกฺ” หมายถึง การสร้างในความหมายที่เฉพาะ ความหมายที่แคบลงมา คือ การสร้างจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ไม่ว่ามนุษย์แบบไหน ก็ถูกสร้างมาจากวัตถุ มีวัตถุอยู่ก่อนการที่จะสร้างมนุษย์ เช่น ตัวอย่างของท่านศาสดาอาดัม (อ) มนุษย์คนแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือมนุษย์ทั่วไปก็ถูกสร้างมาจากอสุจิหรือก้อนเลือด


อีกโองการหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 117


بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَ الْأَرْضِ وَ إِذَا قَضىَ أَمْرًا فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُون‌
 

“พระองค์ผู้ทรงเนรมิตชั้นฟ้าและแผ่นดิน และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดสิ่งใดแล้ว ก็เพียงประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้น”
 

โองการนี้พูดถึงการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินด้วยคำว่า “บะดีอฺ" มาจากรากศัพท์ของ อิบดาอฺ” หมายถึง การสร้างโดยไม่มีวัตถุมาก่อนหน้ามัน การสร้างแบบนี้นั้นเป็นลักษณะ “กุนฟายะกูน” (เมื่อพระองค์ประกาศิตว่าจงเป็นมัน ก็จะเป็นขึ้นในทันที) โองการนี้หมายถึง การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินโดยที่ไม่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามัน ชั้นฟ้าและแผ่นดินถูกสร้างมาเป็นสิ่งแรก ถ้าการสร้างใดที่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามันหรือสร้างมาจากปฐมวัตถุอื่นนั้นจะใช้คำว่า “คัลกฺ” แต่การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในโองการนี้ใช่คำว่า “บาดีอฺ มาจากรากศัพท์ของ อิบดาอฺ” หมายถึงการเนรมิต การบันดาลให้มันเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก ไม่ได้สร้างมาจากวัตถุอื่น และเช่นเดียวกัน บางโองการในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินใช้คำว่า “คัลก์”

ตัวอย่างเช่นในซูเราะฮ์ อัลอันอาม โองการที่ 1


الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي خَلَقَ السَّمَوَاتِ وَالْأَرْضَ وَجَعَلَ الظُّلُمَاتِ وَالنُّورَ ثُمَّ الَّذِينَ كَفَرُوا بِرَبِّهِمْ يَعْدِلُونَ
 

“มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และทรงทำให้มีแสงสว่างและความมืดแต่แล้วบรรดาผู้ปฏิเสธก็ยังเอาถึงอื่นเทียบเคียงพระผู้อภิบาลของพวกเขา”
 

คำว่า “คัลกฺ” ในโองการลักษณะนี้ หมายถึง การสร้างการทำให้เกิดในความหมายรวมความหมายที่หมายถึง การทำให้เกิดขึ้น กล่าวคือ พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินให้เกิดขึ้น เจาะจงไปที่เนื้อหาของการทำให้มันมี


ดังนั้นในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินใช้ทั้งคำว่า “คัลกฺ” และใช้ทั้งคำว่า “อิบดาอ์” ก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกันคือ ความหมายรวม หมายถึง การทำให้มี ส่วนอิบดาอฺ คือ พูดถึงลักษณะของการทำให้มีหมายถึงสร้างมันเป็นวัตถุแรก

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม
...
ความเชื่อต่ออิมามมะฮ์ดี (อ)คือ ...

 
user comment