ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

บทเรียนตอนที่๑๕ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า(๑)

บทเรียนตอนที่๑๕ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า(๑)

บทเรียนตอนที่๑๕ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า(๑)

 

 
รากความเชื่อที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าข้อที่สองคือ ความยุติธรรมแห่งพระเจ้า อัลลอฮ พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเสมอเพราะความยุติธรรมเป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์ประการหนึ่งของพระองค์ พระองค์ทรงให้เกียรติและยกย่องความยุติธรรม ขณะที่ทรงเกลียดชังการกดขี่และการเอาเปรียบ พระองค์ทรงมีบัญชาให้ประชาชนสร้างความยุติธรรม และต่อต้านความอยุติธรรม ฉะนั้นเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะมีคุณลักษณะที่น่ารังเกียจในขณะที่พระองค์ทรงเกลียดสิ่งเหล่านั้น  อัล–กุรอาน กล่าวว่า แน่นอน อัลลอฮฺจะไม่ทำการกดขี่แม้จะเล็กเท่าผงธุลีก็ตาม อัล–กุรอาน บท อัน–นิซาอฺ โองการที่ 40
ด้วยกับสติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้มาทำให้มนุษย์รับรู้สิ่งถูกผิดชั่วดี และรู้ว่าการกดขี่ไม่ดี ส่วนความยุติธรรมนั้นดีและยังเชื่ออีกว่าพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่กระทำในสิ่งที่เลวร้าย การกดขี่และการเอาเปรียบไม่มีอยู่ในพระองค์ ดังนั้นการกดขี่ที่มนุษย์เห็นอยู่ในปัจจุบันเกิดขึ้นจาก
ความโง่เขลา บางครั้งความโง่เขลาคือแหล่งที่มาของการกดขี่อย่างเช่น มนุษย์ไม่รู้ว่าคนผิวขาวและผิวดำนั้นไม่แตกต่างกันแต่คนผิวขาวมักจะคิดว่าตนดีกว่าคนดำเสมอ จึงทำการกดขี่ชนผิวสีดำ ดังนั้น จะเห็นว่ารากเหง้าที่มาของการกดขี่เกิดจากความโง่เขลา หรือความเห็นแก่ตัว ด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้ที่ความหันเห ความไม่เข้าใจ และความโง่เขลาอาจนำพามนุษย์ไปทำในสิ่งที่บั้นปลายคือ การกดขี่ แต่สำหรับอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ ความรู้ของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพระองค์จะกดขี่ได้อย่างไร

 
ความกลัว บางครั้งความกลัวกลายเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการขี่ อย่างเช่น อำนาจหนึ่งที่มีความหวาดกลัวต่ออำนาจของคู่แข่ง เขาจึงคิดไปว่าหากไม่โจมตีก่อน คู่แข่งก็ต้องโจมตีเขา ดังนั้น เพื่อชัยชนะของตนเองเขาจึงได้กดขี่คู่แข่งขัน หรือผู้อธรรมทั้งหลายที่เกรงว่าอำนาจของตนจะสั่นคลอน พวกเขาจึงได้กดขี่คนอื่นเพื่อให้อำนาจของตนมีความมั่นคงยิ่งขึ้น แต่เมื่อพิจารณาไปที่อัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรจะพบว่าพระองค์ไม่มีคู่แข่ง หรือไม่ทรงปรารถนาสร้างอำนาจให้เกิดความมั่นคง
ความต้องการ บางครั้งความต้องการเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดการกดขี่ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ว่าความต้องการทางวัตถุหรืออารมณ์ฝ่ายต่ำเป็นตัวบีบบังคับให้คนอื่นไปทำความผิดบาป หรือทำการกดขี่
จิตใจที่ชั่วร้าย บางครั้งการกดขี่เกิดจากความชั่วร้ายที่อยู่ภายในจิตใจของคน ๆ นั้น ซึ่งบางคนอาจชอบเห็นความทุกข์ยากของคนอื่น หรือชอบทำให้คนอื่นตกระกำลำบาก ตัวเองถึงจะมีความสุข
เมื่อเรารู้แล้วว่าการกดขี่เป็นอย่างไร ดังนั้น ลองพิจารณาดูซิว่าการกดขี่ประเภทไหนที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง เพื่อว่าพระองค์จะได้มีความคิดในการกดขี่เหมือนกับคนอื่น อัล–กุรอาน กล่าวว่า อัลลอฮฺไม่ประสงค์การอธรรมใด ๆ แก่ประชาชาติทั้งหลาย อัล–กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 103

 
อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณตรัสกับปวงบ่าวทั้งหลายว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้รักษาความยุติธรรมและทำดีและเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะเป็นผู้กดขี่  เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺ ผู้ทรงพลานุภาพได้สั่งมนุษย์ผู้มีความอ่อนแอและตกอยู่ในกิเลสว่า จงอย่าเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด เพราะจะทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม ขณะที่พระองค์ผู้ทรงอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่ทรงอยู่ใต้อำนาจหรืออารมณ์ของใครกับเป็นผู้กดขี่เสียเอง
อัล–กุรอาน ตรัสว่า องค์พระผู้อภิบาลของเจ้าจะไม่กดขี่ใครทั้งสิ้น อัล–กุรอาน บทอัล–กะฮฺฟิ โองการที่ 49
      สิ่งดีงามทั้งหลายที่ได้ประสบแก่เจ้าล้วนมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น ส่วนสิ่งที่ไม่ดีที่มาประสบแก่เจ้าล้วนมาจากเจ้า อัล–กุรอาน บทอัล–นิซาอฺ โองการที่ 29

พระองค์คือผู้ทรงสร้างแต่สิ่งที่ดีงาม อัล–กุรอาน บทอัล–ซัจญะดะฮฺ โองการที่ 7
      ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งจะเห็นสิ่งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน การที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากการเปรียบเทียบ เช่น งูพิษหรือแมลงป่อง การมีอยู่ดีสำหรับตัวมัน แต่เมื่อนำมาเทียบเคียงกับมนุษย์มันไม่ดี ในทำนองเดียวกัน ดอกอุตพิดเมื่อยู่ตามลำพังมันดีและมีค่าสำหรับตัวมัน แต่เมื่อนำมาเทียบกับดอกกุหลาบมันไม่มีค่าอันใดเลย ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเหมาะสมและความพอดีอยู่ในตัวเอง
เพราะเหตุใดจึงต้องเชื่อว่าพระเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม
       ทั้งที่สิ่งนี้อาจไม่ใช่ความสำคัญสำหรับอัลลอฮฺ เนื่องจากพระองค์ทรงพลานุภาพและมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าภารกิจใดก็ตามหากถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์สามารถกระทำได้เสมอ แม้ว่า ณ สติปัญญาของเราภารกิจนั้นอาจดีหรือไม่ดีหรือเป็นการกดขี่ก็ตาม เช่น ถ้าอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะนำเอาคนดีไปลงนรก และนำผู้กระทำชั่วขึ้นสวรรค์ถือว่าเป็นไปได้ เพราะสิ่งนี้อยู่ในอำนาจของพระองค์
แต่โดยหลักการแล้วไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากพระเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม แน่นอน อำนาจของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดครอบคลุมอยู่เหนือมวลสรรพสิ่ง แต่ทว่าพระองค์ไม่ทรงกระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับสติปัญญา เหมือนกับคนเรามีกำลังความสามารถทำให้ดวงตาของตนบอดได้ แต่เขาจะไม่กระทำเด็ดขาดเพราะมันไม่ใช่วิทยปัญญา ดังนั้น กำลังความสามารถนั้นมี เพียงแต่ว่าการนำกำลังไปใช้มันขึ้นอยู่กับว่า งานนั้นต้องมีความยุติธรรม สอดคล้องกับสติปัญญา และพันธะสัญญาที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาว่า พระองค์จะนำมวลผู้ศรัทธาเข้าสวรรค์ และนำเอาผู้ปฏิเสธพร้อมทั้งผู้ฝ่าฝืนไปลงโทษในนรก ฉะนั้น ถ้าพระองค์ไม่ทำตามสัญญาถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย อัลลอฮฺจะไม่ใช่พลังของพระองค์ไปทำในสิ่งเลวร้ายอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ การที่พูดว่าอัลลอฮฺ ไม่ทรงกดขี่ ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์กำหนดอำนาจของพระองค์ให้อยู่ในขอบเขตจำกัด ทว่าสิ่งนี้เป็นวิทยปัญญาจึงต้องนำเอาอำนาจของพระองค์ไปใช้ในที่ ๆ มีความเหมาะสม บนพื้นฐานของสติปัญญา ดังนั้น ภารกิจทั้งมวลของอัลลอฮฺ ล้วนแล้วแต่อยู่บนพื้นฐานของการตรวจสอบและวิทยปัญญาอย่างแท้จริง พระองค์ทรงปรีชาญาณ ดังนั้นพระองค์ไม่ทรงทำสิ่งที่เลวร้ายอย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันโดยหลักการแล้วพระเจ้าจะไม่กระทำการใด ๆ ที่ปราศจากจุดหมาย การกระทำทุกรูปแบบของพระองค์ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญา และจุดประสงค์ที่มีเหตุผล ถึงแม้ว่ามนุษย์จะไม่ล่วงรู้ถึงเหตุผลเหล่านั้นก็ตาม ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะเชื่อว่าพระเจ้าทรงกระทำการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลและจุดหมาย ฉะนั้น ถ้าหากบุคคลหนึ่งสามารถกระทำดีต่อบุคคลอื่นได้แต่เขาไม่ยอมกระทำ ลักษณะเช่นนี้เป็นการขัดต่อคุณงามความดีโดยแท้จริง ดังนั้น ถ้าพระเจ้าสามารถประกอบการใด ๆ อันยังคุณประโยชน์ให้แก่บรรดาสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา แต่สมมุติว่าพระองค์ไม่ทรงกระทำก็เท่ากับเป็นความขัดแย้งกับคุณงามความดีของพระองค์ และย่อมไม่เป็นที่ยกย่องสรรเสริญอย่างแน่นอน ดังนั้น อิสลามจึงสอนว่าเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมของอัลลอฮฺ ที่จะทรงประทานความกรุณาปรานีแด่มวลมนุษยชาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment