ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

เฆาะดีร ปรากฎการณ์

ดุลยภาพระหว่างเฆาะดีรคุมและสามเหตุการณ์สำคัญในอิสลาม ในหน้าประวัติ ศาสตร์มีสี่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและจะอุบัติขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับชะตากรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์ และการปฏิเสธหรือการยอมรับปรากฏการณ์ทั้งสี่นี้มีผลโดยตรงต่อความผาสุกหรือ ความอัปโชคของมนุษย์
เฆาะดีร ปรากฎการณ์

ดุลยภาพระหว่างเฆาะดีรคุมและสามเหตุการณ์สำคัญในอิสลาม
ในหน้าประวัติ ศาสตร์มีสี่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและจะอุบัติขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับชะตากรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์ และการปฏิเสธหรือการยอมรับปรากฏการณ์ทั้งสี่นี้มีผลโดยตรงต่อความผาสุกหรือ ความอัปโชคของมนุษย์

สี่ปรากฏการณ์นี้ได้แก่ "บิอฺษะฮฺ" "เฆาะดีร" "อาชูรอ" และ "ซุฮูรุลกออิม" "บิอฺษะฮฺ" คือการแต่งตั้งศาสนทูตท่านสุดท้ายเพื่อที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าจะได้ทรงประทาน ความรู้และทางนำที่สมบูรณ์ที่สุดและคงอยู่อย่างถาวรให้กับมนุษยชาติ ด้วยกระบวนการ "วิวรณ์" โดยผ่านศาสดาท่านสุดท้ายนั้น และถือเป็นบทสรุปความอุตสาหะของศาสดาทั้งหลายก่อนหน้าท่าน

แต่ลำพังการประทานหลักการและข้อบัญญัติทั้งหมดลงมาให้กับท่านศาสดา ก็ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าสมบูรณ์แล้ว อิสลามจะกลายเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อกระบวนการในการนำหลักการและข้อบัญญัติทั้งหมดของอิสลามไปสู๋การปฏิบัติและหลักประกันการคงอยู่อย่างถาวรของอิสลามภายหลังการจากไปของท่านศาสดา ได้ถูกกำหนดและจัดเตรียมไว้เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ "เฆาะดีร" จึงได้เกิดขึ้นหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองภายหลังการอสัญกรรมของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ดังที่ ดร. อะหฺมัด อะมีน มิศรี นักวิชาการอะฮฺลุซซุนนะฮฺนามอุโฆษชาวอียิปต์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือ "เยามุลอิสลาม" ของเขาว่า " หนึ่งในความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ความขัดแย้งของเหล่าสาวก (ของท่านศาสดา) เกี่ยวกับผู้ที่จะถืออำนาจปกครองหลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ และสิ่งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอของความเหมาะสมของพวกเขา เพราะพวกเขาขัดแย้งกันก่อนที่ท่านศาสดาจะได้รับการฝังเสียอีก ..." 1 และในที่สุด ดร. อะหฺมัด อะมีน มิศรี ได้กล่าวว่าถึงผลพวงของความขัดแย้งดังกล่าวว่า "เมื่อตระกูลอุมัยยะฮฺขึ้นถือบังเหียนการปกครอง การนิยมพรรคพวกและเผ่าพันธ์เช่นเดียวกับสมัยญาฮิลียะฮฺได้กลับคืนมาอีกครั้ง" 2

ความผันผวนและการถดถอยดังกล่าวได้สร้างความเสียหายอย่างที่สุดให้กับอิสลามอันบริสุทธิ์ที่ผ่านกระบวนการ "บิอฺษะฮฺ" และ "เฆาะดีร" จนกลายเป็นศาสนาที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับมนุษยชาติ ดังนั้น อิมามฮุซัยน์ หลานของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นทายาทของอาดัม, ทายาทของนูห์ ทายาทของอิบรอฮีม ทายาทของอิสมาอีล ทายาทของมูซา ทายาทของอีซา ทายาทของมุฮัมมัด ทายาทของฟาฏิมะฮฺ และทายาทของอะลี จึงต้องลุกขึ้นพลีชีวิตของตนเอง ครอบครัว และมิตสหายเพื่อให้ชีวิตใหม่แก่อิสลามอันบริสุทธิ์นั้น ด้วยเหตุนี้ "อาชูรอ" จึงได้อุบัติขึ้น
และเพื่อการนำอิสลามอันบริสุทธิ์มาใช้ปกครองโลกอย่างเต็มรูปแบบเพื่อความ ผาสุกโดยสมบูรณ์ของมนุษยชาติ อิมามมะห์ดี สมาชิกท่านสุดท้ายจากครอบครัวอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ) จึงได้ลุกขึ้นปฏิวัติโลกและช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกดขี่ ดังนั้น "ซุฮูรุลกออิม" ปรากฏการณ์สุดท้ายก็จะอุบัติขึ้นในที่สุด

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะปรากฏการณ์ที่สองซึ่งได้แก่ "เฆาะดีร" ในฐานะที่วันที่ ๑๘ ซุลฮิจญะฮฺ ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง
เฆาะดีรคุมในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ศาสดา
แม้จะมีตำหรับตำราและข้อเขียนมากมายเกี่ยวกับความสำคัญของเหตุการณ์เฆาะ ดีรคุม แต่ผู้ที่สามารถแนะนำเฆาะดีรให้เราสามารถตระหนักถึงความสำคัญของมันได้ที่ดี ที่สุดนั้น ย่อมมีเพียงผู้ที่ร่วมกันสร้างเหตุการณ์นี้ให้เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งได้แก่ พระผู้อภิบาล, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) และท่านอิมามอะลี (อ)
พระผู้อภิบาลได้ทรงบัญชาให้ศาสดาของพระองค์สร้างเหตุการณ์เฆาะดีรคุมขึ้นในระหว่างการประทานลงมาของสองโองการ โองการแรกได้แก่

یا أیٌها الرٌسول بلٌغ ما أنزل إلیک من ربٌک 3
และโองการที่สองได้แก่
الیوم أکملت لکم دینکم و أتممت علیکم نعمتی 4
ทั้งนี้เพื่อทำให้ความสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการประทานโองการทั้งสองนั้นปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

ในขณะที่กองคาราวานหุจญาจเรือนแสนโดยการนำของท่านศาสดา (ศ) เดินทางกลับจากการทำหัจญ์อำลามาถึง "เฆาะดีรคุม" พระผู้อภิบาลได้ทรงวิวรณ์โองการหนึ่งลงมาเพื่อให้ท่านศาสดา (ศ) สร้างเหตุการณ์อันสำคัญยิ่งต่ออนาคตของอิสลามและมุสลิม ณ ที่ท้องทะเลทรายอันร้อนระอุแห่งนั้นว่า:

یا أیٌها الرٌسول بلٌغ ما أنزل إلیک من ربٌک
"โอ้ เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้าเถิด"
หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเผยให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่จะประกาศนั้นด้วยประโยคเงื่อนไข (ชัรฏียะฮ์) ประโยคหนึ่งว่า:

و إن لم تفعل فما بلٌغت رسالته
"หากเจ้าไม่ปฏิบัติ ก็เท่ากับเจ้าไม่ได้ประกาศสาส์นของพระองค์"
หากเราตีความว่าสิ่งที่ท่านศาสดาได้รับพระบัญชาให้กระกาศนั้นว่าหมายถึง ข้อบัญญัติต่างๆ เช่น นมาซ หัจญ์ ศึลอด หรือข้อบัญญัติอื่นๆ ในทำนองเดียวกันนี้ ประโยคเงื่อนไขข้างต้นก็จะมีความหมายว่า "หากเจ้าไม่ประกาศข้อบัญญัติเกี่ยวกับนมาซ ก็เท่ากับว่าเจ้าไม่ได้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่สาส์นของอัลลอฮฺ" ซึ่งท่านศาสดาเองก็ทราบดีถึงนัยเช่นนี้อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องได้รับการชึ้แจงเพิ่มเติมอีก และจะมีผลทำให้โองการกุรอานที่เป็นประโยคเงื่อนไขดังกล่าวกลายเป็น "การอธิบายสิ่งที่จัดเจนอยู่แล้ว" ซึ่งสิ่งนี้มิใช่คุณลักษณะของโองการกุรอานอันจำเริญ

ดังนั้น นัยเดียวที่ประโยคเงื่อนไขข้างต้นบ่งบอกไว้ก็คือ ลำพังการประกาศหลักการและข้อบัญญัติศาสนาทั้งหมดนั้นยังถือว่าไม่เพียงพอและ ยังไม่ถือว่าอิสลามและสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าสมบูรณ์แล้ว แต่ด้วยกับการกำหนดและวางหลักประกันในการนำหลักการและข้อบัญญัติเหล่านั้นมา สู่การปฏิบัติและทำให้สาส์นของพระผู้เป็นเจ้าคงอยู่ตลอดไป ด้วยสิ่งที่ท่านศาสดาจะกระทำ ณ เฆาะดีรคุมหลังจากนี้ต่างหากที่จะนำมาซึ่งความสมบูรณ์ของสาส์น และหากท่านศาสดาไม่กระทำสิ่งนี้ สาส์นของพระผู้เป็นเจ้าก็จะไม่สมบูรณ์อย่างแน่นอน "و إن لم تفعل فما بلٌغت رسالته"

ตลอดระยะเวลา ๒๓ ปีของการเผยแผ่สาส์นของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) นั้น ความหวาดกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวท่านไม่เคยครอบงำจิตใจอันเข้มแข็ง ของท่านได้เลยแม้แต่น้อย แต่เนื่องจากสิ่งที่ท่านจะประกาศ ณ เฆาะดีรคุมนี้เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัวของท่าน ท่านจึงเล็งเห็นถึงการคัดค้านและการป้ายสีท่านว่าเล่นพรรคเล่นพวก อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของอิสลามโดยรวม สิ่งนี้ได้ทำให้ท่านศาสดาวิตกกังวล พระผู้อภิบาลจึงทรงให้หลักประกันต่อศาสดาของพระองค์ว่า:
و الله یعصمک من النٌاس إنٌ الله لا یهدی القوم الکافرین
"อัลลอฮฺจะทรงพิทักษ์ปกป้องเจ้าจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้คน เพราะอัลลอฮฺมิทรงนำทางกลุ่มชนผู้ปฏิเสธ" ซึ่งรวมทั้งกลุ่มชนที่ห้อมล้อมท่านศาสดาอยู่แต่ปฏิเสธความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงมอบให้ในเฆาะดีรคุม
หลังจากนั้นท่านศาสดาสุดท้าย (ศ) ได้ยืนขึ้นกล่าวสุนทรพจน์แห่งประวัติศาสตร์เบื้องหน้าสาวกเรือนแสน ท่านได้กล่าวประโยคหนึ่งที่ทำให้ภารกิจในเฆาะดีรคุมของท่านเสร็จสมบูรณ์ว่า "من کنت مولاه فهذا علیٌ مولاه" บุคคลใดที่ฉันเป็นนายของเขา อะลีก็เป็นนายของเขาด้วยเช่นกัน

พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานอีกโองการหนึ่งลงมาเพื่อสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นว่า:
الیوم یئس الذین کفروا من دینکم
"วันนี้ผู้ปฏิเสธได้สิ้นหวังจาก (การทำลาย) ศาสนาของพวกเจ้าอย่างสิ้นเชิงแล้ว"

อนึ่ง การประกาศศาสนาของท่านศาสดาในมักกะฮฺและการก่อตั้งรัฐอิสลามในมะดีนะฮฺ ทำให้ผู้ปฏิเสธ, พวกตั้งภาคี, ยิว และคริสเตียนกลายเป็นผู้สูญเสียฐานที่มั่นและผลประโยชน์ พวกเขาจึงตั้งตนเป็นปรปักษ์และปรารถนาที่จะทำลายศาสนาใหม่นี้ให้สิ้นซาก:
یریدون أن یطفئوا نور الله بأفواههم
"พวกเขาปรารถนาที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺด้วยลมปากของพวกเขา" 5
นี่คือความหวังแรกสุดของพวกเขา เมื่อไม่เป็นผล พวกเขาจึงเริ่มใช้กำลังทำร้ายและฆ่าสังหารมุสลิม เพื่อหมายที่บีบคั้นให้พวกเขาละทิ้งอิสลาม: لایزالون یقاتلونکم حتی یردٌوکم عن دینکم إن استطاعوا
"พวกเขาไม่เคยวางมือในการเข่นฆ่าพวกเจ้า จนกว่าจะสามารถผลักใสพวกเจ้าออกจากศาสนาของพวกเจ้าได้" 6 ودٌ کثیر من اهل الکتاب لو یردٌونکم من بعد ایمانکم کفٌاراً
"ชาวคัมภีร์ส่วนมากหวังที่จะผลักใสพวกเจ้าไปสู่การปฏิเสธอีกครั้ง หลังจากที่พวกเจ้าได้มีศรัทธา" 7

นี่คืออีกความหวังหนึ่งของพวกเขา แต่พระผู้เป็นเจ้าก็มิทรงยินยอมให้พวกเขาสมหวัง ดังนั้น บนพื้นฐานของโลกทัศน์ที่พวกเขามีอยู่ สิ่งสุดท้ายที่พวกเขาสามารถตั้งความหวังได้ ก็คือการเสียชีวิตของท่านศาสดา เพราะพวกเขาเห็นว่าท่านศาสดาไม่มีบุตรชายวสืบสกุลเพื่อทำหน้าที่ผู้นำรัฐแทน ท่าน ความตายของท่านจึงหมายถึงการล่มสลายของอำนาจรัฐของท่านและการปิดฉากของอิสลามนั่นเอง
نتربٌص به ریب المنون
"เราจะรอคอยให้ภัยแห่งความตายอุบัติขึ้นกับเขา" 8

แต่ด้วยกับประโยคที่ท่านศาสดาได้ล่าวว่า "من کنت مولاه فهذا علیٌ مولاه" ทำให้ความหวังสุดท้ายของพวกเขาถูกทำลายไปจนหมดสิ้น
الیوم یئس الذین کفروا من دینکم
"วันนี้ผู้ปฏิเสธได้สิ้นหวังจาก (การทำลาย) ศาสนาของพวกเจ้าอย่างสิ้นเชิงแล้ว"
นอกจากนี้การประกาศแต่งตั้งอิมามอะลี (อ) อย่างเป็นทางการในเฆาะดีรคุม ยังได้ตัดหนทางที่จะทำให้ศัตรูมีความหวังได้อีกลงอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่มุสลิมจะต้องวิตกกังวลในเรื่องนี้อีก:
فلا تخشوهم
"ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา"

แต่เป็นไปได้ที่คนบางคนในประชาคมมุสลิมอาจจะทำการใดๆ ที่ทำให้พวกปฏิเสธ, พวกตั้งภาคี พวกยิว และคริสเตียนกลับมามีอำนาจและมีความหวังใหม่อีกครั้ง พระผู้เป็นเจ้าจึงทรงปรามบุคคลดังกล่าวไว้ว่า:
و اخشون
"แต่พวกเจ้าจงกลัวฉัน"

หลังจากนั้น พระองค์ได้ตรัสถึงมรรคผลที่สำคัญของการแต่งตั้งอิมามอะลี (อ) ในฐานะผู้เป็นหลักประกันความคงอยู่อย่างถาวรของอิสลามอันบริสุทธิ์และหลัก ประกันในการนำหลักการและข้อบัญญัติของอิสลามมาบังคับใช้ในสังคมว่า:
الیوم اکملت لکم دینکم
"วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว" มรรคผลที่สำคัญประการแรกของการแต่งตั้งตัวแทนของท่านศาสดาได้แก่ความสมบูรณ์ในแง่ของรูปแบบและกระบวนการ (กัยฟียะฮฺ) ของอิสลาม
و أتممت علیکم نعمتی
"และฉันได้เติมเต็มความโปรดปรานของฉันแก่พวกเจ้าแล้ว"
นี่คือมรรคผลสำคัญประการที่สอง ซึ่งได้แก่ความสมบูรณ์ในเชิงของปริมาณ (กัมมียะฮฺ) ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานความโปรดปราน (นิอฺมะฮฺ) ที่สมบูรณ์ที่สุดของพระองค์อันได้แก่ "วิลายะฮฺ" ให้กับมนุษยชาติ
و رضیت لکم الإسلام دیناً
"และฉันพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า"
และมรรคผลสำคัญประการที่สามของการแต่งตั้งอิมามอะลี (อ) ก็คือ ศาสนาอิสลามที่ควบคู่กับวิลายะฮฺและอำนาจปกครองสูงสุดของอะฮฺลุลบัยต์ของท่านศาสดาได้รับการเลือกสรรจากพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นศาสนาเดียวเท่านั้นที่จะคงอยู่เป็นทางนำสำหรับมนุษยชาติตลอดไป

เฆาะดีรคุมในทัศนะของอิมามอลี
อิมามอะลี (อ) คือบุคคลที่สามที่มีส่วนร่วมในการรังสรรค์เหตุการณ์เฆาะดีรคุมให้เกิดขึ้น ฉะนั้น คำแนะนำของท่านให้เราได้รู้จักสารัตถะที่แท้จริงของเฆาะดีรคุมย่อมชัดเจนและแตกต่างไปจากคำกล่าวของบุคคลอื่นๆอย่างแน่นอน

ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่เต็มไปด้วยความหมายในวันอีดเฆาะดีรคุมหนึ่งในสมัยการปกครองของท่าน ซึ่งหลังจากการสรรเสริญพระผู้อภิบาลและการกล่าวถึงความผูกพันและเกี่ยวเนื่องกันระหว่างความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีด) สถานภาพการเป็นศาสดา (นุบูวะฮฺ) และสถานภาพการเป็นอิมาม (อิมามะฮฺ) ท่านอิมามได้กล่าวแนะนำเฆาะดีรคุมด้วยคุณลักษณะต่างๆ ๒๒ คุณลักษณะ อาทิเช่น

إن هذا یوم عظیم الشأن
"วันนี้คือวันอันมีสถานภาพอันยิ่งใหญ่"
เนื่องจากความสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันเฆาะดีรคุม จึงทำให้วันดังกล่าวกลายเป็นวันที่สำคัญที่สุดมากกว่าวันอีดอื่นๆ ของอิสลาม การแต่งตั้งที่เกิดขึ้นในวันเฆาะดีรคุมถือเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดที่ยืนยันว่าอิสลามไม่ได้แยกศาสนาออกจากการเมือง

هذا یوم الإیضاح و الأفصاح عن المقام الصراح
"วันนี้คือวันแห่งการเปิดเผยสถานะอันบริสุทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจน"
ในวันเฆาะดีรคุมนั้น المقام الصراح ตำแหน่งและสถานะอันบริสุทธิ์ซึ่งในที่นี้หมายถึงตำแหน่งอิมามผู้บริสุทธิ์ ได้รับการกำหนดและแต่งตั้งไว้อย่างชัดเจน จนไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวภายหลังได้ว่า ท่านศาสดามิได้แต่งตั้งผู้ใดไว้

هذا یوم الفصل الذی کنتم توعدون
"วันนี้คือวันแห่งการจำแนกแยกแยะที่พวกท่านถูกสัญญาไว้"
อิมามอะลี (อ) ได้พรรณนาคุณลักษณะของเฆาะดีรคุมด้วยกับคุณลักษณะหนึ่งของวันปรโลก เพื่อชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของทั้งสองเหตุการณ์ วันปรโลกคือวันที่สัจธรรมและความเท็จจะถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน และเฉพาะผู้ที่ยึดมั่นในสัจธรรมเท่านั้นจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จและความผาสุก วันเฆาะดีรคุมก็เช่นกัน กลุ่มชนผู้รอดพ้นและประสบความสำเร็จดังที่ท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวถึงกลุ่มชนดังกล่าวไว้ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชนเดียวเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จจากกลุ่มต่างๆที่แตกแยกกันในประชาชาติของท่านได้รับการบ่งชี้ไว้อย่างชัดเจน
และในทำนองเดียวกันกับที่พวกปฏิเสธไม่เชื่อว่าวันปรโลกจะอุบัติขึ้น พวกเขาก็ไม่คาดคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เฆาะดีรคุมจะอุบัติขึ้นเช่นกัน เพราะพวกเขาต่างรอคอยการล่มสลายของอิสลามไปพร้อมๆ กันกับการอสัญกรรมของท่านศาสดา

هذا یوم الإرشاد
"วันนี้คือวันแห่งการชี้นำ"
เพราะในวันเฆาะดีรคุมนั้น ผู้นำกิจการทั้งหมดของประชาชาติอิสลามได้รับการแนะนำ และเส้นทางเดินในอนาคตของพวกเขาได้รับการแยกแยะไว้ด้วยบรรทัดฐานของ "ความรักและการสนันสนุน" หรือ "การเป็นศัตรูและการต่อต้าน" ท่านอิมามอะลีในฐานะอะฮฺลุลบัยต์ของท่านศาสดา اللهم وال من والاه و عاد من عاداه "ข้าแด่พระเจ้า ขอพระองค์ทรงโปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับอะลี และทรงโปรดเป็นศัตรูกับผู้เป็นศัตรูกับอะลี"

هذا یوم شیث هذا یوم ادریس هذا یوم یوشع هذا یوم شمعون
"วันนี้คือวันของชีษ วันนี้คือวันของอิดรีส วันนี้คือวันของยูชะอฺ วันนี้คือวันของชัมอูน"
วันเฆาะดีรคุมคือวันของบรรดาศาสดาและบรรดาผู้สืบต่อของพวกเขา ชีษคือตัวแทนของศาสดาอาดัม (อ) อิดรีสคือศาสดาหลังจากนูห์ (อ) ยูชะอฺคือตัวแทนของมูซา (อ) และชัมอูนคือตัวแทนของอีซา (อ) และในที่สุด เฆาะดีรคุมก็คือวันของอะลี (อ)ผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดาสุดท้าย (ศ)
นี่คือแง่มุมหนึ่งของเฆาะดีรคุม แง่มุมของการกำหนดทิศทางของอิสลามภายใต้การชี้นำของผู้นำที่มีคูณสมบัติครบ ถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้านเฉกเช่นอิมามอะลี (อ) และด้วยกับแนวทางและตรรกะอันสูงส่งนี้เท่านั้นที่จะทำให้อิสลามคงอยู่ในโลก นี้อย่างสง่างาม
แต่เป็นที่น่าเสียใจที่การละทิ้งแนวทางและตรรกะที่ท่านศาสดา (ศ) ได้วางบรรทัดฐานไว้ในเฆาะดีรคุมนั้น ได้นำประชาชาติมุสลิมไปสู่ทางตัน และจำยอมต้องเชื่อและยอมรับในสิ่งที่ไม่มีปัญญาที่สมบูรณ์ใดจะยอมรับได้ ดังจะเห็นได้จากการกล่าวยอมรับของ "ตัฟตาซานี" นักเทววิทยานามอุโฆษท่านหนึ่งของอะฮฺลุซซุนนะฮฺที่ว่า:

"อิมามจะไม่ถูกปลดจากตำแหน่ง เนื่องจากการทำบาป การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และการกดขี่ประชาชน เพราะได้เกิดการฝ่าฝืนอัลลอฮฺและการกดขี่ผู้คนมาแล้วในหมู่ผุ้ปกครองและผู้ นำในอดีต แต่ชาวสลัฟ (คนในยุดต้น) ก็มิได้ถอดถอนบัยอะฮฺของตน พวกเขายังคงสวามิภักดิ์และจัดการนมาซวันศุกร์และอีดต่างๆ ด้วยการอนุมัติของบรรดาอิมามเหล่านั้น และพวกเขาถือว่าไม่อนุญาติให้ต่อต้านบรรดาอิมามเหล่านั้น"

ตัฟตาซานีได้กล่าวถึงเหตุผลที่ไม่อนุญาติให้ลุกขึ้นต่อต้านดังกล่าวไว้ในตอนท้ายว่า "การปลดอิมามและตั้งผู้อื่นขึ้นมาแทน จะทำให้เกิดความวุ่นวาย (ฟิตนะฮฺ) เนื่องจากพวกเขามีกำลังทหารและมีอำนาจอยู่ในมือ" 9

ในช่วงท้ายของบทความชิ้นนี้ ขอเรียกร้องให้ประชาชาติมุสลิมหันกลับมาศึกษาและพิจารณาถึงบรรทัดฐานที่ท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้กำหนดไว้ในเฆาะดีรคุมเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำ เพื่ออย่างน้อยที่สุดจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้นำประเทศของตนเองได้ ประการที่สอง ขอเรียกร้องให้ประชาชาติมุสลิมหันกลับมาทำความเข้าใจสถานะภาพที่แท้จริงและ สูงส่งของครอบครัวอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา อย่างน้อยที่สุดในฐานะผู้เป็นแหล่งอ้างอิงทางศาสนา (มัรญิอียะฮฺ) เช่นเดียวกับกุรอาน ดังที่ท่านศาสดาได้วางบุคคลกลุ่มนี้ไว้เคียงข้างกุรอานในหะดีษษะเกาะลัยน์ ที่ท่านได้กล่าวไว้ในเฆาะดีรคุม
และประการสุดท้าย เมื่อคำนึงถึงคำสั่งของท่านศาสดาในช่วงท้ายของสุนทรพจน์ที่ท่านได้กล่าวในเฆาะดีรคุมว่า:

الا فلیبلٌغ الشاهد الغائب
"จงรู้ไว้เถิดว่า ผู้ที่อยู่ร่วมในที่นี้จะต้องนำสาส์ (แห่งเฆาะดีรคุม) นี้ไปแจ้งกับผู้ที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในที่นี้"
นี่คือพันธกิจของมุสลิมทุกคนที่จะต้องทำความเข้าใจและส่งมอบสาส์นแห่งเฆาะดีรคุมให้กับอนุชนรุ่นต่อไป


เชิงอรรถ

1. เยามุลอิสลาม หน้า ๕๓
2. ฟัจญ์รุลอิสลาม หน้า ๗๙
3. กุรอาบบทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ ๖๗
4. กุรอานบทอัลมาอิดะฮฺ โองการท่ ๓
5. กุรอาบบทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ ๓๒
6. กุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๒๑๗
7. กุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๑๐๙
8. กุรอาบบทอัฏฏูร โองการที่ ๓๐
9. شرح العقائد النسفیة หน้า ๑๘๕-๑๘๖ ฉบับตีพิมพ์ที่ อิสตันบูล






ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามิคโฮมเพจ


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
สงคราม “อาร์มาเกดอน” ...
ความสำคัญของน้ำนมแม่ ...
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
อาลัมบัรซัค ...
อิสลาม : ศาสนาแห่งสันติ
สถานภาพการเมือง ...
คุณค่าของการเศาะลาวาต
หมายเหตุการเข้ารับอิสลาม ...

 
user comment